2. ชนิดของสื่อบันทึกข้อมูล
เทคโนโลยีของสื่ออุปกรณ์บันทึกข้อมูลหรือจัดเก็บข้อมูล สามารถเป็นออกเป็น 3 ชนิด คือ 1. สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ เทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic Storage) 2. สื่อจัดเก็บข้อมูลที่เทคโนโลยีแบบแสง (Optical Storage) ซึ่งสื่อ บันทึกข้อมูลส่วนใหญ่มักจะเป็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสองชนิดนี้ สื่อบันทึกข้อมูลบางชนิดที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง สองรวมกัน คือ สื่อแบบแม่เหล็กและแสง เช่น Magneto-Optical Disk และ 3. โซลิดสเตต (Solid State) หรือ เอสอสดี
2.1. สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก (Magnetic Storage)
สื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก คือ สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก (Magnetic) ซึ่งประกอบด้วย ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk/Diskettes) ดิสก์ความจุสูง (High-Capacity Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
1. ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk/Diskettes)
ฟลอปปี้ดิสก์ หรือดิสก์เก็ต เป็นแผ่นดิสก์แบบอ่อนที่ทำจากแผ่นไมลาร์และเคลือบด้วยสารแม่เหล็กบาง ๆ ทั้งสองด้าน มีขนาดตั้งแต่ 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้ว ดิสก์เก็ตนี้บางที่ยังมีผู้ใช้งานเหลืออยู่บ้าง คือ ขนาด 3.5 นิ้ว แต่ปัจจุบันในนิยมใช้งานแล้ว มีดิสก์ชนิดความจุสูงอื่น ๆ ให้เลือกใช้งานแทน
หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ (Capacity)
บิต (Bit) ย่อมากจาก Binary Digits
8 Bit เท่ากับ 1 ไบต์ (Byte = 1 ตัวอักษร)
1 ไบต์ (Byte) เท่ากับ 8 บิต (Bit)
1 กิโลไบต์ (Kilobyte) เท่ากับ 1,024 ไบต์ (Byte)
1 เมกะไบต์ (Megabyte) เท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ (Kilobyte)
1 กิกะไบต์ (Gigabyte) เท่ากับ 1,024 เทกะไบต์ (Megabyte)
1 เทระไบต์ (Terabyte) เท่ากับ 1,024 กิกะไบต์ (Gigabyte)
1 เพตะไบต์ (Petabyte) เท่ากับ 1,024 เทระไบต์ (Tarabyte)
1. ดิสก์ความจุสูง (High-Capacity Floppy Disk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเดียวกับดิสก์เก็ตที่จะสามารถเก็บข้อมูลได้สูงที่นิยมใช้กัน เช่น Super Disk, Zip Disk และ Jaz Disk โดย Super Disk มีความจุขนาด 120 เมกะไบต์ ส่วน Zip Disk มี
ความจุขนาด 100 เมกะไบต์ และ 250 เมกะไบต์ ในขณะที่ Jaz Disk สามารถเก็บข้อมูลถึง 1-2 กิกะไบต์ โดยสามารถเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB หรือพอร์ต Parallel
1. ฮาร์ดดิสก์ (Harddisks)
ฮาร์ดดิสก์หรือจานบันทึกแบบแข็ง คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดของ เครื่อง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความเร็วและความจุในการจัดเก็บข้อมูลได้สูงมากกว่า 500 กิกะไบต์ – 3 เทระไบต์ อีกทั้งยังมีราคาไม่แพง และจัดเป็นอุปกรณ์หลักที่จำเป็นต้องมีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชั่น โปรแกรมประยุกต์ใช้งานรวมถึงข้อมูลหรือสารสนเทศต่าง ๆ
เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนยาวกว่าอุปกรณ์ที่มีความร้อน เพราะมีความทนทานต่อการสั่นสะเทือน การกระชาก และการสึกกร่อนเชิงกลมากกว่าหลายเท่า โซดิสเตตไดรฟ์ คล้ายกับ USB Flash Drive ใช้เก็บบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กทนทาน เบา ทำงานได้รวดเร็ว ไม่มีชิ้นส่วนเป็นกลไกหัวเข็ม หรือจารหมุนอย่างฮาร์ดดิสก์ ปัจจุบันมีความจุหลากหลายตั้งแต่ 60-480 GB
3.1. ลักษณะการทำงานของฮาร์ดดิสก์
การทำงานของฮาร์ดดิสก์จะคล้ายกับฟลอปปี้ดิสก์ แต่ภาพในของฮาร์ดดิสก์ได้รวมหัวอ่าน บันทึกและจานแม่เหล็กอยู่ภายในตัวเดียวกัน โครงสร้างภาพในฮาร์ดดิสก์จะประกอบด้วย แพลตเตอร์ (Platters) ซึ่งคล้ายกับแผ่นดิสก์ แต่จะทำด้วยแผ่นอลูมิเนียมแข็งที่เคลือด้วยออกไซด์ของเหล็กและมีหลายแพลตเตอร์ด้วยกัน แต่แพลตเตอร์จะเรียงอยู่บนแกนเดียวกัน ที่เรียกว่า “Spindle” ทำให้แพลตเตอร์แต่ละแผ่นสามารถหมุนไปได้พร้อม ๆ กัน ด้วยมอเตอร์ขับเคลื่อนที่มีความเร็วระหว่าง 3,600 RPM และ 7,200 RPM (Round Per Minute : RPM) ในขณะที่มอเตอร์ดิสก์ไดรฟ์ที่หมุนดิสก์เก็ต จะหมุนด้วยความเร็วประมาณ 300 RPM เท่านั้น ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์สามารถหมุนได้ด้วยความเร็วมากกว่า 10,000 RPM แต่ละหน้าของแพลตเตอร์ที่วางเรียงซ้อนกันจะมีหัวอ่านหรือบันทึกที่สามารถเคลื่อนที่เข้าออกไปยัง แทร็กต่าง ๆ ที่ต้องการและเนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีจำนวนจานดิสก์หรือแพลตเตอร์หลานแผ่นเรียงซ้อนกัน การอ้างอิงตำแหน่งจึงอ้างอิงตำแหน่งแทร็กเดียวกันในแต่ละแพลตเตอร์ ที่เรียกว่า “ไซลินเดอร์” (Cylinder) คือ เส้นรอบวงแทร็กรวมกันทั้งหมดของแผ่นบันทึกข้อมูลโดยแทร็กสุดท้ายในแผ่นบันทึกข้อมูลจะใช้เป็นที่พักหัวอ่าน (Head) ของฮาร์ดดิสก์
3.2. ชนิดของฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์มีการพัฒนามาตรฐานกาออกได้หลายแบบ คือ ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE แบบ EIDE แบบ SCSI และแบ Serial ATA แบบ PCI-e และแบบ M2 แต่ละชนิด มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
แบบที่ 1 ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE (Integrated Drive Electronics) ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟสรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพรขนาด 40 เส้น โดยสารแพร 1 เส้น สามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดเดียวกัน จะมีขั้วต่อ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้ สามารถต้อฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 4 ตัว สำหรับขนาดความจุของข้อมูลเพียง 504 MB
รเชื่อมต่อปัจจุบันแบ่งแบบที่ 2 ฮาร์ดดิสก์ แบบ EIDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
มาตรฐาน EIDE พัฒนามาจาก IDE ที่ใช้สายแพรขนาด 80 เส้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงานให้มากขึ้น โดยเชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดดิสก์กับช่องต่อ IDE บนเมนบอร์ด อีกทั้งยังสนับสนุนการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ไดรฟ์ CD-ROM/CD-RW ไดรฟ์ DVD เป็นต้น
แบบที่ 3 ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
ฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI หรือเรียกว่า สะกัชชี่ (Scuzzy) เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่ง ที่มีการ์ดคอนโทรลเลอร์ SCSI สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์รุ่นแรก ๆ อัตราการรับส่งข้อมูลเพียง 10 MB/s ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ EIED ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ จะมีความเร็วสูงกว่า 40 MB/s ขึ้นไป จนถึง 160 MB/s การเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 7 ตัว แต่การ์ดบางรุ่น อาจจะได้ถึง 14 ตัว ฮาร์ดดิสก์ SCSI นี้ ถูก ออกแบบมาใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย คือ เซิร์ฟเวอร์ (Server) ทำหน้าที่บริการกับผู้ใช้งาน หลาย ๆ คนบนเครือข่าย ซึ่งเน้นความทนทานต่อการใช้งานหนัก และรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
แบบที่ 4 ฮาร์ดดิสก์แบบ Serial ATA
เป็นมาตรฐาน Serial ATA เป็นอินเทอร์เฟสใหม่ที่เข้ามาแทนที่มาตรฐาน EIDE ซึ่งเดิมเป็น แบบขนาน (Parallel) ส่วนที่แตกต่างไปจากเดิม คือ ใช้ระบบการรับ/ส่งข้อมูลในแบบอนุกรม (Serial) สามารถเพิ่มความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลได้สูงกว่า และสายเชื่อมต่อมีขนาดเล็กลงกว่าแบบ EIDE ซึ่งนิยมใช้งานกัน
แบบที่ 5 ฮาร์ดดิสก์แบบ PCI-e
ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ PCI-Express มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่เร็วกว่า SATA เป็นอย่างมาก แต่ราคาสูง หากชื่นชอบในความเร็วและความแรง PCI-e
แบบที่ 6 ฮาร์ดดิสก์แบบ M2
M2 หรือ NGFF (Next Generation From Factor) เป็น Interface ใหม่ มีหลายแบบมาก เน้นขนาดเล็ก และความเร็วสูงมีการเชื่อมต่อแบบ SATA ดั้งเดิม และบวกเพิ่มการเชื่อมต่อตรงแบบ PCL-e x2 x4 ทำให้ประสิทธิภาพมากกว่า SATA แบบเดิม ๆ
3.3 การพิจารณาความเร็วของฮาร์ดดิสก์
มีปัจจัยหลายประการด้วยกัน ในการพิจารณาความเร็วของฮาร์ดดิสก์ สามารถพิจารณาได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ
- เวลาค้นหา (Seek Time)
คือ เวลาที่แขนของหัวอ่าน/บันทึก เคลื่อนที่ไปยังแทร็กหรือไซลินเดอร์ที่ต้องการ โดยมีหน่วยวัดความเร็วเป็นมิลลิวินาที (Millisecond)
- เวลาแฝง (Rotation Delay or Latency Time)
คือ เวลาที่ตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการในแต่ละแทร็กหมุนมายังตำแหน่งของหัวอ่านบันทึก เพื่อที่จะทำการถ่ายโอนข้อมูลไปยังหน่วยความจำหลัก โดยมีหน่วยวัดความเร็วเป็นมิลลิวินาที
- เวลาเข้าถึง (Access Time)
คือ เวลารวมของเวลาค้นหาและเวลาแฝง (Seek Time + Latency Time)
- เวลาถ่ายโอนข้อมูล (Transfer Time)
คือ เวลาการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างตำแหน่งข้อมูลบนแทร็กนั้น ๆ ไปยังหน่วยความจำหลักซึ่งมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลนี้ขึ้นอยู่กับความเร็วรอบการหมุนของแพลตเตอร์ ซึ่งมีหน่วย RPM รวมถึงความหนาแน่นของข้อมูลในแต่ละแทร็ก (Track Per Inch : TPI)
3.4. ฮาร์ดดิสก์แบบเคลื่อนย้ายได้
ฮาร์ดดิสก์ฮ๊อตสว็อพ (Hot Swappable Hard Disk) นิยมใช้กับเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับสูง โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) เพราะความเร็วในการทำงานที่เทียบเท่าฮาร์ดดิสก์ที่ใส่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถถอดออกจาก เครื่องได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องและยังสมารถรองรับกับข้อมูลที่มีการขยายตัวเพิ่มตัวขึ้นเรื่อย ๆ
4 . เทปแม่เหล็ก (Magnectic Tape)
เทปแม่เหล็กเป็นสื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีความนิยมใช้มานานแต่ในปัจจุบันความนิยมของเทป แม่เหล็กได้ลดน้อยลงมาก เนื่องจากการเข้าถึง ข้อมูลเป็นไปในลักษณะแบบลำดับ (Sequential) ซึ่ง ช้ากว่าแบบเข้าถึงโดยตรง (Direct Access) อย่างแมกเนติกดิสก์ แต่อย่างไรก็ตามเทปแม่เหล็กก็ยังนิยมใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลสำรองต่าง ๆ เนื่องจากเทปแม่เหล็กมีความจุสูงและเคลื่อนย้ายง่าย เมื่อเทียบปริมาณความจุกับราคาถือว่ามีราคาถูกและคุ้มค่า ปัจจุบันเทปแม่เหล็กมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เทปแม่เหล็กเป็นม้วน ซึ่งมักใช้กับเครื่องระดับใหญ่ เช่น มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ ก็ยังมีเทปแบบตลับคาสเซต คาร์ทริดจ์ที่มักใช้งานบนไมโครคอมพิวเตอร์ รวมทั้งเทปชนิด DAT เป็นต้น
2.2 สื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีด้วยแสง (Optical Storage)
แนวโน้มการจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อจัดเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีออปติคอล มีความนิยมสูงขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากมีความจุสูง ทนทานและมีราคาถูก และโปรแกรมต่าง ๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ๋ผู้ผลิตมักนำโปรแกรมมาบันทึกลงในแผ่นซีดีกันส่วนมาก เช่น ซีดีรอม ซีดีอาร์ ซีดีอาร์ดับบลิว ดีวีดีรอม และแมกนีโตออปติคัลดิสก์2.3 โซลิสเตตไดรฟ์ (Solid Stage Drive) หรือ เอสเอสดี (SSD)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น